สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ หรือชื่อย่อว่า CIPAT ออกเสียงว่า “ไซแพด” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560  โดยจัดตั้งจากกลุ่มบริษัทเอกชนที่ทำด้านนวัตกรรมและกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อต้องการส่งเสริมผู้ประกอบการในด้านนวัตกรรมด้านไซเบอร์ในประเทศไทย เป็นกลไกลในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยได้พัฒนานวัตกรรมทางไซเบอร์ขึ้นมาใช้เองภายในประเทศ โดยสร้างบุคลากรที่สร้างสรรค์นวัตกรรมในประเทศในการก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างปลอดภัยและยั่งยืน

สมาคม CIPAT  จะมีการจัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยประสานกับทุกภาคส่วนเพื่อช่วยเสริมในการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐ และเสริมสร้างการนำนวัตกรรมที่ผลิตขึ้นเองในประเทศไทย นำมาใช้งานและส่งเสริมนักพัฒนารุ่นใหม่ ที่มีแนวความคิดที่จะพัฒนาประเทศไทย

 

คำนิยาม ไซเบอร์สเปซ (อังกฤษ: Cyberspace) หรือ ปริภูมิไซเบอร์ เป็นภาวะนามธรรมเชิงอุปลักษณ์ ใช้ในด้านปรัชญา หรือ คอมพิวเตอร์ เป็นความจริงเสมือนซึ่งแทนโลกในทฤษฎีทางปรัชญาของ คารล์ ปอปเปอร์ (Karl Popper) ซึ่งรวมทั้งสิ่งต่างๆ ในคอมพิวเตอร์จนถึงระบบเครือข่าย

ซึ่งในโลกยุคดิจิทัลจะพบว่าภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากไซเบอร์สเปซนั้นเสมือนดังเงาที่ติดตามตัวเราไปในทุกที่ ไม่ว่าเป็น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน อันได้แก่ IoT (Internet of Things) เทคโนโลยีด้านระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) และการพัฒนาซอฟต์แวร์อัจฉริยะ อันได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์  หรือ AI (Artificial Intelligence) การทำธุรกรรมออนไลน์ ระบบ E-commerce การศึกษาออนไลน์ E-Learning และอื่นๆ ล้วนต้องมีระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยโดยทั้งสิ้น

ปัจจุบันนี้ที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมต่อสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง มีทั้งสิ้น

จำานวน ๑๓๐ รายการ ดังนี้
๑. ด้านการเกษตร จำานวน ๓๒ รายการ
– สิ่งประดิษฐ์ที่ต้องการมีการพัฒนาต่อยอด ๑๘ รายการ
– สิ่งประดิษฐ์ที่มีโอกาสจะซื้อได้ 14 รายการ
๒. ด้านการแพทย์ จำานวน ๓๘ รายการ
– สิ่งประดิษฐ์ที่ต้องการมีการพัฒนาต่อยอด ๒๓ รายการ
– สิ่งประดิษฐ์ที่มีโอกาสจะซื้อได้ ๑๕ รายการ
๓. ด้านความมั่นคง จำานวน ๗ รายการ
– สิ่งประดิษฐ์ที่ต้องการมีการพัฒนาต่อยอด ๒ รายการ
– สิ่งประดิษฐ์ที่มีโอกาสจะซื้อได้ ๕ รายการ
๔. ด้านอื่นๆ จ านวน ๕๓ รายการ
– สิ่งประดิษฐ์ที่ต้องการมีการพัฒนาต่อยอด ๔๒ รายการ
– สิ่งประดิษฐ์ที่มีโอกาสจะซื้อได้ ๑๑ รายการ

ซึ่งทางสมาคม CIPAT พบว่าประเทศไทยยังขาดนวัตกรรมทางไซเบอร์  เนื่องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญและมีผลกระทบโดยตรงกับผู้ใช้งานด้านดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต

และหากมองว่าข้อมูลคือความมั่นคงของชาติอย่างหนึ่ง เราจึงควรหันกลับมาสนใจและสรรค์สร้างนวัตกรรมทางไซเบอร์ให้เกิดขึ้นในประเทศของเราเอง จึงเป็นที่มาและการก่อตั้งขึ้นในนามสมาคม “CIPAT”  ที่เริ่มด้วยบุคลกรที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันโดยมีความต้องการที่จะยกระดับนวัตกรรมไทยให้มีความเท่าเทียบกับนานาประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการสร้างผลผลิตนวัตกรรมทางไซเบอร์ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย อันจะนำไปสู่ความปลอดภัยที่ยั่งยืนได้ในอนาคต   ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า  “ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ด้วยการลงมือทำ”

 

ช่องทางติดต่อสื่อสารทางสังคมออนไลน์