สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ หรือเรียกว่า “CIPAT” ได้เห็นถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นเรื่องสำคัญต่อการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลจากข้อมูล CBL (Composite Blocking List)  ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศที่ขึ้นบัญชีดำในการโจมตีทางไซเบอร์

 

ภาพสถิติประเทศที่ขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) อันดับ 1-10  ซึ่งจากภาพแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยติดอันดับ 7  โดยมีค่าเฉลี่ยที่ติดบัญชีดำถึง วันละ 188,533 ค่าไอพีแอดเดรส ที่ขึ้นบัญชีดำ

จากผลการวิจัยพบว่าหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และ หน่วยงานเอกชนขนาดเล็ก และขนาดกลาง ในประเทศไทยล้วนตกอยู่ในความเสี่ยง

 

ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการให้บริการของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

ดังนั้นทางสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ หรือ CIPAT จึงมีความประสงค์ที่จะเข้ามาช่วยลดระดับความเสี่ยงภัยและให้ประเทศไทยไม่อยู่ใน 10 TOP ของรายชื่อบัญชีดำ CBL

ภาพแผนที่ประเทศไทยที่พบค่าไอพีแอดเดรส (GeoIP) ที่ขึ้นรายชื่อบัญชีดำ (IP Blacklist) จากหน่วยงาน CBL (Composite Blocking List)

ดังนั้นทาง CIPAT  จึงจัดทำระบบตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อค้นหาช่องโหว่ที่เกิดขึ้นและรายชื่อบัญชีดำที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

โดยมีทั้งหมด อยู่ 2 ระบบ อันได้แก่

(1) ระบบแสดงสถานการณ์ช่องโหว่และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อระบบสารสนเทศ

ชื่อภาษาอังกฤษว่า Vulnerability Monitoring System

(2) ระบบเฝ้าระวังภัยคุกคามการขึ้นรายชื่อบัญชีดำในประเทศประเทศไทย

ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thailand Domain Blacklist Monitoring System

ซึ่งทั้ง 2 ระบบนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากทีมงานพัฒนา SRAN